Mobirise

5 ขั้นตอนสำหรับประกอบพิธีกรรม

             5 ขั้นตอนสำหรับประกอบพิธีกรรมในงานศพ ตามคติของชาวไทยพุทธนั้น เมื่อมีการสูญเสียเกิดขึ้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือการหาบ้านหลังสุดท้ายหรือหีบศพไว้บรรจุร่าง ซึ่งโลงศพที่เตรียมนั้น อาจจะเป็นโลงศพที่ผู้วายชนม์ได้สั่งทำไว้อยู่แล้ว หรือลูกหลานอาจจะเลือกโลงศพที่ผู้วายชนม์ได้สั่งเสียไว้ เพื่อเป็นบ้านหลังสุดท้าย ต่อมาคือการจัดหาวัด และการจัดพิธีกรรมสำหรับงานศพ โดยขั้นตอนการจัดพิธีกรรมในงานศพทั้ง 5 ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นมาดูกันเลยค่ะ

Mobirise

         1. วันถึงแก่กรรม
เมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น เรายังไม่สามารถนำร่างของผู้เสียชีวิตบรรจุลงโลงศพได้เลย แต่เราต้องทำตามคติความเชื่อก่อนที่จะนำร่างบรรจุลงโลงศพนะคะ โดยตามคติความเชื่อจะต้องทำการอาบน้ำศพ เพื่อให้ร่างกายสะอาดและจะนำผู้ตายไปสู่อีกโลกที่บริสุทธิ์ จากนั้นจะทำการหวีผมซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเชื่อแต่ละท้องถิ่น บางคนหวีเพียง 3 ครั้ง บางคนก็หวีเป็น 2 ซีก เป็นต้น ต่อมาคือการแต่งตัวให้ศพ โดยเลือกเสื้อผ้าชุดใหม่หรืออาจจะเลือกชุดที่ผู้วายชนม์ชอบมาแต่งให้ โดยสวมกลับข้างหน้าไว้ข้างหลังและต้องทำตำหนิทุกชิ้น
          ต่อมาถือการใส่เงินปากผี ซึ่งเป็นคติความเชื่อของชาวอีสาน ที่ใช้เงินเป็นค่าเดินทางไปสู่เมืองผีสำหรับผู้ตาย จากนั้นใช้ขี้ผึ้งปิดตาปิดปากศพ เพื่อสอนให้คนที่ยังอยู่รู้จักระมัดระวังคำพูด กายวาจาและใจ และขึ้นตอนสุดท้ายก่อนน้ำร่างบรรจุลงโลงศพก็คือ การมัดตราสัง โดยเจ้าหน้าที่ของทางวัดจะทำการมัดตราสัง 3 เปลาะ ให้ร่างอยู่ในท่านอนหลายประนมมือถือกรวยดอกธูปเทียน เมื่อมัดตราสังเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการบรรจุร่างลงในโลงศพต่อไป 

Mobirise

           2. การตั้งศพ
ในการบรรจุรางผู้เสียชีวิตลงโลงศพนั้น จะต้องตั้งศพโดยหันหัวศพไปทางทิศตะวันตกเสมอ เพราะมีความเชื่อกันว่าการนอนหันไปทางทิศตะวันตกคือการนอนอย่างผีค่ะ ต่อมาคือการตามไฟศพโดยจะต้องจุดตะเกียงไฟไว้ตามศีรษะศพตลอด 24 ชั่วโมง  

Mobirise

          3. การสวดอภิธรรมศพ
ในอดีตชาวไทยนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน โดยการนำโลงศพบรรจุในโลงเย็นอีกทีหนึ่ง และนิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพที่บ้านเป็นเวลา 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้ไม่นิยมตั้งศพไว้ที่บ้านเหมือนเมื่อก่อน แต่เปลี่ยนมาตั้งศพไว้ที่วัดแทน โดยระยะเวลาในบำเพ็บกุศลก็ขึ้นอยู่กับกำลังของผู้จัดงาน โดยทั่วไปพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จำนวน 4 จบ หรือว่าตามความต้องการของเจ้าภาพ เมื่อสวดเสร็จก็จะนำเครื่องไทยธรรมถวายแก่พระสงฆ์ 

Mobirise

       4. วันฌาปนกิจศพ
การทำพิธีฌาปนกิจศพ หรือการเผาศพเป็นวันสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นวันสุดท้ายก่อนที่ศพจะถูกเผา โดยในวันนี้พิธีกรรมจะเริ่มตั้งแต่เช้าก็คือ มีพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนี้
• การบวชหน้าไฟ
• นิมนต์พระเพื่อสวดพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล
• นิมนต์พระขึ้นเทศน์พระธรรม
• นิมนต์พระสวดมาติกา-บังสุกุล ถวายเครื่องไทยธรรมและกรวดน้ำ
ต่อมาคือการแห่ศพโดยเจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูปนำหน้าขบวนแห่ศพรอบเมรุ ลูกหลายถือกระถางธูป ถือรูปถ่ายนำหน้าโลงศพ แล้วตามด้วยลูกหลายและเครือญาติคนอื่น ๆ ทำการแห่ศพรอบเมรุจำนวน 3 รอบ เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จึงนำโลงศพขึ้นตั้งบนเมรุ เพื่อเริ่มพิธีฌาปนกิจต่อไป โดยจะมีการกล่าวถึงชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่เคยกระทำไว้ จากนั้นจึงทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพเชิญแขกผู้ร่วมงานวางดอกไม้จันทน์ โดยนำดอกไม้จันทน์ไปวางไว้ที่ใต้เชิงตะกอนหรือวางหน้าพานศพค่ะ  

       5. วันเก็บอัฐิ
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีฌาปนกิจแล้ว ทางเจ้าภาพ ลูกหลานหรือเครือญาติของผู้ล่วงลับจะทำพิธีเก็บอัฐิหลังจากวันเผา 1 วัน โดยเจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์สวดบังสุกุลอัฐิ หรือที่เรียกกันว่าแปรธาตุ โดยจะเกลี่ยเศษอัฐิให้เป็นรูปคนนอนหงายหันหัวไปทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์บังสกุลตายเสร็จแล้ว จะเกลี่ยเศษอัฐิใหม่ โดยจะหันหัวไปทางทิศตะวันออก หลังจากเสร็จพิธีบังสุกุลแล้วจะเก็บเศษอัฐิใส่โกศ ส่วนอังคารหรือเถ้ากระดูกจะนำไปทำพิธีลอยอังคารต่อไป 

หากท่านใดเกิดข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการใช้บริการเราเกี่ยวกับเรื่องหลังความตาย อาทิ หีบศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าโลงศพ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 061-569-5694 ตลอด 24 ชม.

Mobirise
ติดต่อเรา

เลขที่ : 30/21 ม.6 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120


เบอร์ : 061.569.5694

Call Center : 02.950.0989
Line : @suriyagroup


Designed with ‌

Mobirise